Monday, December 11, 2006

Analog and Digital

บทนำ

สัญญาณที่ใช้ในอุปกรณ์อิเลคทรอนิคส์ มี 2 ชนิด คือ สัญญาณอนาล็อก และสัญญาณดิจิตอล สัญญาณอนาล็อก จะใช้ใน อุปกรณ์ทั่วๆ ไป และใช้ในการควบคุมแบบเก่า ในปัจจุบันมีไมโครโปรเซสเซอร์ และไมโครคอนโทรลเลอร์ เข้ามาช่วยในการควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ มากมาย ซึ่งทำให้การควบคุมนั้นทำได้ง่าย และรวดเร็วยิ่งขึ้น แต่ในการควบคุมนั้น เราจำเป็นต้องใช้ สัญญาณดิจิตอลในการติดต่อกับไมโครโปรเซสเซอร์ หรือไมโครคอนโทรลเลอร์ แต่ในความเป็นจริงนั้น เราใช้สัญญาณอนาล็อกในการควบคุม ดังนั้นเราจึงจำเป็น ต้องมีการเปลี่ยนสัญญาณอนาล็อก เป็นสัญญาณดิจิตอล แล้วจึงนำสัญญาณนั้นเข้ามาสู่ไมโครโปรเซสเซอร์ หรือไมโครคอนโทรลเลอร์ เพื่อใช้ควบคุมระบบต่อไป แม้ว่าสัญญาณอนาล็อกนั้นมีความแน่นอน และแม่นยำสูง แต่สัญญาณอนาล็อกนั้นก็ควบคุมได้ยาก เนื่องจากในสภาพแวดล้อม มีสัญญาณรบกวนอยู่มาก และการที่จะทำให้ การควบคุมแบบอนาล็อก มีความสามารถควบคุม เท่ากับการควบคุมแบบดิจิตอลนั้น ทำได้ยาก เนื่องจากวงจรควบคุมแบบ อนาล็อกจะต้องมีความซับซ้อนสูง อย่างไรก็ตาม สัญญาณดิจิตอลก็ไม่สามารถทดแทนความละเอียดของสัญญาณอนาล็อกได้อย่างสมบูรณ์ แต่ทำให้การควบคุมนั้นทำให้ง่าย และสะดวกยิ่งขึ้น
ความหมายและความเป็นมา
สัญญาณอนาล็อก
สัญญาณอนาล็อก(Analog Signal) หมายถึง สัญญาณที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลแบบต่อเนื่อง(Continuous Data) ที่มีขนาดไม่คงที่ มีลักษณะเป็นเส้นโค้งต่อเนื่องกันไป โดยการส่งสัญญาณแบบอนาล็อกจะถูกรบกวนให้มีการแปลความหมายผิดพลาดได้ง่าย เช่น สัญญาณเสียงในสายโทรศัพท์ เป็นต้น




สัญญาณดิจิตอล
สัญญาณดิจิตอล(Digital Signal) หมายถึง สัญญาณที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลแบบไม่ต่อเนื่อง(Discrete Data) ที่มีขนาดแน่นอนซึ่งขนาดดังกล่าวอาจกระโดดไปมาระหว่างค่าสองค่า คือ สัญญาณระดับสูงสุดและสัญญาณระดับต่ำสุด ซึ่งสัญญาณดิจิตอลนี้เป็นสัญญาณที่คอมพิวเตอร์ใช้ในการทำงานและติดต่อสื่อสารกัน

หลักการทำงาน
การส่งสัญญาณข้อมูลด้วยระบบอนาล็อกและดิจิตอล
ช่องทางการสื่อสารแบบ บรอดแบนด์ (Broad-Band) สำหรับการส่งสัญญาณแบบอนาล็อก
ช้องทางการสื่อสารแบบ เบสแบนด์ (Base-Band) สำหรับการส่งสัญญาณแบบดิจิตอล
สัญญาณอนาล็อก (Analog Signals) เป็นแบบคลื่นที่ติดต่อกันไป สัญญาณเปลี่ยนแปลงต่อเนื่อง
สัญญาณดิจิตอล (Digital Signals) ใช้ความแตกต่างของการ เปิด และ ปิด สัญญาณมีเพียง 2 ระดับ เลขฐาน 2
Counting Converter Counting Converter เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดของการแปลงสัญญาณอนาล็อก เป็นสัญญาณดิจิตอล โดยใช้อัลกอริทึม การนับค่าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แล้วนำผลที่ได้จากการนับไปเปรียบเทียบกับค่าที่ต้องการที่ตั้งไว้ ลักษณะการทำงานเป็นดังรูป



จากวงจร Counter เป็นอุปกรณ์นับค่าที่เพิ่มขึ้นทีละหนึ่ง แล้วส่งค่าที่ได้ให้ D/A มีขา Reset รับสัญญาณ Reset เมื่อต้องการให้เริ่มนับใหม่ D/A เมื่อรับค่าที่นับเพิ่มขึ้นทีละหนึ่งจากตัวนับ ก็แปลงค่าให้เป็นสัญญาณ อนาล็อกที่มีค่าความต่างศักย์ค่าๆ หนึ่ง แล้วส่งต่อเข้าไปที่อุปกรณ์ตัวเปรียบเทียบ(Comparator) Comparator จะเป็นอุปกรณ์ตัวเปรียบเทียบค่าความต่างศักย์ ของอินพุต และค่าจากที่ตัวนับ ถ้าหากทั้งสองสัญญาณมีค่าเท่ากันส่งค่าความต่างศักย์ 0 โวลต์ออกมา(ลอจิก 0) ถ้าไม่เท่ากันก็จะส่งความต่างศักย์ที่ไม่ใช่ 0 โวลต์ออกมา(ลอจิก 1) ซึ่งค่าความต่างศักย์ที่ออกมา จะนำมาเข้าลอจิกเกต "และ" กับ สัญญาณนาฬิกา จะได้ค่าลอจิกออกมา ถ้าผลลัพธ์ออกมาเป็นสัญญาณนาฬิกาแสดงว่ายังไม่ได้ผลลัพธ์เท่าที่ต้องการ สัญญาณนาฬิกาก็จะไปทำให้ตัวนับนับเพิ่มขึ้นต่อไป และเมื่อได้ค่าผลลัพธ์ดิจิตอลที่ต้องการแล้ว ค่าที่ได้จาก ตัวเปรียบเทียบจะให้ค่าความต่างศักย์เป็น 0 (ลอจิก 0) ซึ่งเมื่อนำมาเข้าลอจิกเกต "และ" กับสัญญาณนาฬิกาแล้ว ก็จะให้ลอจิก 0 ซึ่งทำให้ตัวนับไม่นับเพิ่มอีก ก็จะได้ค่าดิจิตอลจากตัวนับที่ต้องการ จากคำอธิบายข้างต้นจะได้กราฟของ V0 ดังนี้

ข้อเสียของวิธีนี้ คือ การนับต้องเริ่มนับที่ 0 เสมอ และนับเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ช้า เอาท์พุตที่ได้จะมี delay จึงไม่ค่อยนิยมใช้เท่าที่ควร จึงได้เปลี่ยนตัวนับเป็นแบบนับลงได้ด้วย ซึ่งจะอ้างอิงระดับจากระดับเก่า ทำให้ไม่จำเป็นต้องนับ 0 ใหม่ เมื่อมีการเปลี่ยนอินพุตใหม่ แต่ให้อ้างอิงกับผลลัพธ์เดิม ทำให้ได้ผลลัพธ์เร็วขึ้น
Successive Approximation ใช้หลักการของ "binary search" ในการหาคำตอบ โดยนำค่าผลลัพธ์มาเปรียบเทียบกับค่ากึ่งกลางของช่วง เพื่อให้ทราบว่า ค่านั้นๆ มากกว่า หรือน้อยกว่า โดยจะปรับช่วงให้แคบลงมาเรื่อยๆ แล้วเปรียบเทียบผลลัพธ์กับค่ากึ่งกลางของช่วงไปเรื่อยๆ จนได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ เช่น เลขที่เป็นคำตอบคือ 3 จากช่วงของคำตอบที่ 0-7 ครั้งแรกเอาค่า (0+7)/2 = 4 มาเปรียบเทียบ ได้ผลว่า คำตอบที่ต้องการอยู่ในช่วงที่น้อยกว่า 4 ครั้งที่ 2 ก็เลือกค่า (0+4)/2 = 2 มาเปรียบเทียบ ได้ผลว่าคำตอบที่ต้องการอยู่ในช่วงที่มากกว่า 2 แต่น้อยกว่า 4 ครั้งที่ 3 ก็เลือกค่า (2+4)/2 = 3 มาเปรียบเทียบ ได้ผลว่าคำตอบที่ต้องการ จากหลักการที่กล่าวมาอาจเขียน flow chart ได้ดังนี้

ข้อดีของวิธีนี้ คือ เวลาที่ใช้ในการหาคำตอบ n รอบ แน่นอน (สำหรับ n bit converter ซึ่งอ้างอิงได้ 2n ระดับ และระดับ Vin ที่คงที่) ซึ่งใช้เวลาน้อยกว่าแบบ "Counting Algorithm" แต่มีข้อเสีย คือถ้า Vin เปลี่ยนทันทีทันใด ขณะที่กำลังทำ binary search อยู่นั้น คำตอบที่ได้จะผิดพลาด ตัวอย่างเช่น เปลี่ยน Vin จาก 5 Volt เป็น 2 Volt
ช่วงของ Vin คือ 1-7 ใช้ n=3 (เพราะว่า 23=8) ครั้งแรก ใช้ 4 เปรียบเทียบกับ Vin (ซึ่งเท่ากับ 5 โวลต์) พบว่า อยู่ในช่วง lower ได้ 1xx ครั้งที่ 2 ใช้ 2 เปรียบเทียบกับ Vin (ซึ่งเท่ากับ 5 โวลต์) พบว่า อยู่ในช่วง upper ได้ 10x ครั้งที่ 3 ใช้ 3 เปรียบเทียบกับ Vin (ซึ่งเท่ากับ 5 โวลต์) พบว่า ผลลัพธ์ที่ได้จะผิดพลาด ได้ 100
Dual-Slope ADC ใช้หลักการของวงจร Integrater ทำงานร่วมกับตัว Comparater ดังรูป

Input Voltage มี 2 ตัว คือ ค่าความต่างศักย์อนาล็อกที่ต้องการแปลงเป็นดิจิตอล (-Vin) และความต่างศักย์ที่คงที่ค่าหนึ่ง (Vref) และมีสวิตช์ SW1 ซึ่งทำหน้าที่เลือกค่าสัญญาณ จากวงจรตอนเริ่มต้นสวิตช์ SW2 ทำหน้าที่คายประจุของตัวเก็บประจุ C แล้วจึงเปิด SW2 ออก เมื่อสวิตช์ SW1 สับมาที่ -Vin จากวงจร Intergrater
slope มีค่าเท่ากับ ค่า t ที่ใช้มีค่าคงที่ tm เมื่อ t เพิ่มจากศูนย์ถึง tm ให้SW1 สับไปที่ Vref จะได้สมการ slope มีค่า สมมติ ช่วงเวลาตั้งแต่ความต่างศักย์ที่ tm จนความต่างศักย์เป็น 0 มีค่าเท่ากับ tn ได้ดังแสดงในกราฟ

จากหลักของสามเหลี่ยมคล้าย จะได้สมการ เนื่องจาก Vref และ tn มีค่าคงที่ สัญญาณอนาล็อกขึ้นกับค่า tn เพราะการควบคุมการเปลี่ยนสัญญาณดิจิตอล ที่ขึ้นกับค่า tn การแปลงเป็นสัญญาณดิจิตอลจะทำโดยจับคู่ค่า tn กับเอาต์พุตค่าๆ หนึ่ง ตามความเหมาะสมสำหรับ Vref นั้นๆ เหมือนการเทียบค่าในตาราง ความเร็วของการแปลงสัญญาณแบบนี้ ขึ้นอยู่กับ Vin และ Slope ของวงจร integrater โดยธรรมชาติแล้ว ลักษณะของตัวเปรียบเทียบเองนั้น จะไม่เป็นอุดมคติ คือจะมีผลต่างของความต่างศักย์อยู่ V โวลต์ แม้ว่าจะต่ออินพุตทั้งสองลงกราวด์แล้วก็ตาม ซึ่งถ้า Vref ที่ใช้อยู่นั้นมีค่าน้อยกว่าค่าผลต่างของความต่างศักย์ที่เกิดจากตัวเปรียบเทียบ ความชันก็จะน้อย ทำให้เวลา tm ใช้เวลานานมาก กว่าที่จะพ้นค่าความต่างศักย์ที่เกิดจากตัวเปรียบเทียบ เราจึงต้องนำค่าความต่างศักย์มาเพิ่มให้กับ Vref เพื่อหาผลลัพธ์
Flash Converter
หลักการของ Flash Converter คือการใช้การแบ่งแรงดันเป็น Voltage หลายๆ ค่า แล้วเปรียบเทียบกับ Vin เป็นคู่ๆ พร้อมกัน แล้วกระทำการทาง logic จากรูปมี Voltage เปรียบเทียบ 8 bit ค่าความต่างศักย์จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากค่าความต้านทานที่ต่อเพิ่มขึ้น ความต่างศักย์ที่ได้นั้น เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับ Vin แล้วมากกว่าก็จะปล่อยลอจิกออกมา ถ้ามากกว่าก็จะให้ลอจิก 1 ถ้าน้อยกว่าหรือเท่ากันก็จะให้ลอจิก 0 วิธี Flash Converter นี้จะเร็วที่สุด แต่ใช้อุปกรณ์ทาง Hardware มากกว่าแบบอื่นๆ
การแปลงสัญญาณอนาล็อก เป็นสัญญาณดิจิตอล มีประโยชน์มากในการควบคุมอุปกรณ์สวิตชิ่ง ซึ่งมีลักษณะการแปลงสัญญาณได้หลายวิธี แต่ละวิธีจะมีอัลกอริทึม ความรวดเร็วในการทำงาน และการใช้อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ต่างกันด้วย ทำให้ขนาด และราคาต่างกัน ขึ้นกับความต้องการของผู้ใช้ที่จะต้องเลือกให้เหมาะสมกับงานที่ใช้ และงบประมาณที่มีอยู่
ประเภทของสัญญาณ
สัญญาณแอนะล็อก - สัญญาณที่มีลักษณะต่อเนื่อง โดยมีลักษณะแตกต่างกับสัญญาณดิจิตัลที่มีลักษณะไม่ต่อเนื่อง สัญญาณแอนะล็อกจะถูกใช้งานกับระบบอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึง ระบบเครื่องกล ไฮโดรลิค และระบบอื่นๆ
วงจรแอนะล็อก- วงจรไฟฟ้าที่ทำงานในลักษณะสัญญาณแอนะล็อก โดยสามารถออกแบบสำหรับในการขยาย หรือการดัดแปลง สัญญาณ และในบางกรณีวงจรแอนะล็อกสามารถแปลงข้อมูลเป็นสัญญาณดิจิตัลได้เช่นกัน
คอมพิวเตอร์แอนะล็อก
สามารถแบ่งทิศทางการสื่อสารข้อมูลได้เป็น 3 แบบ คือ
แบบทิศทางเดียว(Simplex) ข้อมูลจะถูกส่งจากทิศทางหนึ่งไปยังอีกทิศทางหนึ่ง โดยไม่สามารถส่งย้อนกลับมาได้ เช่น ระบบวิทยุ หรือโทรทัศน์
แบบกึ่งสองทิศทาง(Half Duplex) ข้อมูลสามารถส่งสลับกันได้ทั้ง 2 ทิศทาง โดยต้องผลัดกันส่งครั้งละทิศทางเท่านั้น ตัวอย่างเช่น วิทยุสื่อสารแบบผลัดกันพูด
แบบสองทิศทาง(Full Duplex) ข้อมูลสามารถส่งพร้อมๆ กันได้ทั้ง 2 ทิศทางอย่างอิสระ ตัวอย่างเช่น ระบบโทรศัพท์
การสื่อสารข้อมูลแบบอนุกรมและแบบขนานการสื่อสารข้อมูลแบบอนุกรมจะเป็นการส่งข้อมูลทีละบิตต่อครั้งผ่านสายสื่อสาร ขณะที่การสื่อข้อมูลแบบขนานจะส่งข้อมูลเป็นชุดของบิตพร้อมๆ กันในแต่ละครั้ง ซึ่งทำให้การส่งข้อมูลแบบขนานสามารถทำได้เร็วกว่า แต่จะเสียค่าใช้จ่ายสูงกว่าเช่นกัน เนื่องจากสายที่ใช้จะต้องมีช่องสัญญาณจำนวนมาก เช่น 8 ช่อง เพื่อให้สามารถส่งข้อมูลได้ 8 บิตพร้อมกัน
การส่งสัญญาณข้อมูลด้วยระบบอนาล็อกและดิจิตอล
ช่องทางการสื่อสารแบบ บรอดแบนด์ (Broad-Band) สำหรับการส่งสัญญาณแบบอนาล็อก
ช้องทางการสื่อสารแบบ เบสแบนด์ (Base-Band) สำหรับการส่งสัญญาณแบบดิจิตอล
สัญญาณอนาล็อก (Analog Signals) เป็นแบบคลื่นที่ติดต่อกันไป สัญญาณเปลี่ยนแปลงต่อเนื่อง
สัญญาณดิจิตอล (Digital Signals) ใช้ความแตกต่างของการ เปิด และ ปิด สัญญาณมีเพียง 2 ระดับ เลขฐาน 2
โมดูเลชั่นและดีโมดูเลชั่น (Modulation-Demodulation)
เป็นวิธีการที่จะทำให้การส่งสัญญาณดิจิตอลที่ใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถส่งผ่านสื่อกลางของโทรศัพท์ที่ส่งสัญญาณแบบอนาล็อก หรือการแปลงสัญญาณดิจิตอลและสัญญาณอนาล็อก
อัตราเร็ว (Baud Rate) และความกว้างของช่องสัญญาณ (Bandwidth)
จำนวนครั้งที่ข้อมูลถูกส่งไปต่อวินาที มีหลายขนาดด้วยกัน เช่น 300 1200 2400 9600 บิตต่อวินาที โดยความกว้างของช่องสัญญาณ จะเป็นตัวกำหนดความเร็วของการส่งข้อมูล เรียกว่า แบนด์ (Band) มี 3 แบบ
ช่องสัญญาณชนิดแคบ (Narrow-Band channel) อัตราเร็ว 40-100 bit/sec เช่น สารโทรเลข
ช่องสัญญาณชนิดเสียง (Voice-Band Channel) อัตราเร็ว 110-5600 bit/sec เช่น สายโทรศัพท์
ช่องสัญญาณชนิดกว้าง (Broad-Band Channel) อัตราเร็วพันล้าน bit/sec เช่น ไมโครเวฟ ใยแก้วแสง
โหมดของการส่งผ่านข้อมูล (Transmission Modes)
การส่งผ่านข้อมูลแบบขนาน (Parallel Transmission)
ข้อมูลบิตเรียงตัวขนานกัน อาศัยสายส่งเท่าจำนวนบิต ใช้ในระยะใกล้ ๆ ไกลทำให้เปลืองค่าสายส่ง ข้อดีคือ มีความเร็วสูง
การส่งผ่านข้อมูลแบบอนุกรมหรือแบบเรียงลำดับ (Serial Transmission)
ทุกบิตที่เข้ารหัสแทนตัวอักษร ส่งผ่านตามสายส่งเรียงลำดับไปทีละบิตเพียงเส้นเดียว ประหยัดค่าใช้จ่าย ใฃ้ในระยะไกล การทำให้เครื่องรับทราบว่าบิตใดคือบิตตัวอักษร จะมี 2 วิธี คือ
1. การส่งแบบอะซิงโครนัส (Asynchronous Transmission) ข้อมูลแต่ละตัวอักษรจะถูกควบคุมโดย บิตเริ่มต้น มีค่าเป็น 0 (Start Bit) และบิตสุดท้ายมีค่าเป็น 1 (Stop Bit)
2. การส่งแบบซิงโครนัส (Synchronization Transmission) จะจัดกลุ่มข้อมูลเป็นกลุ่ม ๆ แล้วส่งไปทั้งหมด โดยไม่มีช่องว่าง เรียกว่า Block of Data ส่งได้แล้วกว่าแบบอะซิงโครนัส
รูปแบบการเชื่อมโยงการสื่อสาร
สื่อกลางแบบกำหนดเส้นทางได้หรือจับต้องได้ (Guided Media) และสื่อกลางแบบไม่กำหนดเส้นทางหรือจับต้องไม่ได้ (Unguided Media)
1. การเชื่อมโยงแบบ จุด-ต่อ-จุด (Point-to-Point) เป็นการเชื่อมโยงระหว่างคอมพิวเตอร์กับเทอร์มินัล รับส่งข้อมูลจำนวนมาก ๆ และต่อเนื่อง เช่น การเช่าสารสื่อสาร ATM
2. การเชื่อมโยงแบบหลายจุด (Multipoint หรือ Mutlidrop) จากแบบจุดต่อจุดทำให้สิ้นเปลืองสายสื่อสาร หากใช้สายเพียงเส้นเดียวจะประหยัด แต่ต้องคอยตรวจสอบสัญญาณต่าง ๆ โดยมี 2 วิธี คือ
2.1 การสอบถาม (Polling) เครื่องคอมพิวเตอร์จะสอบถาม สถานีปลายสายว่ามีข้อมูลส่งมาหรือไม่
เป็นครั้งคราว
2.2 การรอคอย (Contention) แต่ละสถานีต้นสาย ตรวจสอบช่องทางสัญญาณว่าว่างหรือไม่ ถ้าว่าง
จะส่งข้อมูล
3. การเชื่อมโยงแบบสวิตชิ่ง (Switching Network) เป็นการเชื่อมต่อแบบสลับช่องสื่อสารกันได้
ผู้ถ่ายทอดสัญญาณการสื่อสารรับอนุญาต (Common Carrier)
จะต้องได้รับอนุญาตจากรัฐบาล เช่น บริษัทสามารถเทเลคอมมูนิเคชั่น บริษัทเทเลคอมเอเชีย เป็นต้น


ที่มา : โลกคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ : 7-4

21 comments:

laddawan69 said...

สัญญาณดิจิตอลคืออะไร

suphatra phuakkew said...

ตอบ laddawan69
สัญญาณดิจิตอล(Digital Signal) หมายถึง สัญญาณที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลแบบไม่ต่อเนื่อง(Discrete Data) ที่มีขนาดแน่นอนซึ่งขนาดดังกล่าวอาจกระโดดไปมาระหว่างค่าสองค่า คือ สัญญาณระดับสูงสุดและสัญญาณระดับต่ำสุด ซึ่งสัญญาณดิจิตอลนี้เป็นสัญญาณที่คอมพิวเตอร์ใช้ในการทำงานและติดต่อสื่อสารกัน

suphatra phuakkew said...

ตัวอย่างของการส่งข้อมูลที่มีสัญญาณแบบแอนะล็อกมีอะไรบ้าง

thanachai said...

ตัวอย่างของการส่งข้อมูลที่มีสัญญาณแบบแอนะล็อกมีอะไรบ้าง

suphatra phuakkew said...

ตอบ thanachai080
การส่งข้อมูลผ่านระบบโทรศัพท์

wansachomsr075i said...

เฮิรตซ์ (Hertz) คือ หน่วยวัดความถี่ของสัญญาณข้้อมูลแบบใด

suphatra phuakkew said...

ตอบ wansachomsr075i
แบบแอนะล็อก

suriya059 said...

บิตเรท (Bit rate) เป็นอัตราความเร็วในการส่งข้อมูลแบบใด

suphatra phuakkew said...

ตอบ suriya059
แบบดิจิตอล

Unknown said...

อุปกรณ์อะไรที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณดิจิตอลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณแอนะล็อก

suphatra phuakkew said...

ตอบ itsara083
โมเด็ม (Modem)

benjamat banjongpan said...

สัญญาณอะนาล็อกคืออะไร

suphatra phuakkew said...

ตอบ benjamat068
สัญญาณอนาล๊อก (Analog signal) คือ เป็นสัญญาณแบบต่อเนื่อง ที่มีลักษณะเป็นคลื่นไซน์(Sine Wave)

sutichai said...

การส่งสัญญาณแบบอนาล็อกช่องทางการสื่อสารแบบใด

suphatra phuakkew said...

ตอบ sutichai078
ช่องทางการสื่อสารแบบ บรอดแบนด์ (Broad-Band)

mana said...

การส่งสัญญาณแบบดิจิตอลมีช่องทางการสื่อสารแบบใด

suphatra phuakkew said...

ตอบ mana084
เบสแบนด์ (Base-Band)

benjavan kanjan said...

ขั้นตอนการแปลงสัญญาณดิจิตอลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณแอนะล็อก เรียกว่าอะไร

suphatra phuakkew said...

ตอบ benjavan066
เรียกว่า Modulation

benjawan meesombat said...

ขั้นตอนการแปลงสัญญาณแอนะล็อก ให้เป็นสัญญาณดิจิตอลเพื่อคอมพิวเตอร์จะได้นำไปประมวล เรียกขั้นตอนนี้ว่าอะไร

suphatra phuakkew said...

ตอบ benjawan079
เรียกว่า Demodulation